top of page

วงศ์ CHELONIIDA

1.เต่ากระ Hawksbill Turtle  ( Eretmochelys imbricate )
ลักษณะเด่น :จะงอยปากค่อนข้างแหลมงุ้มคล้ายปากเหยี่ยว เกล็ดบนส่วน หัวตอนหน้า มี ๒ คู่ เกล็ดบนกระดองแถวข้างมี จำนวน ๔ เกล็ดลักษณะเด่น ชัดคือเกล็ดบนกระดอง มีลวดลายริ้วสีสวยงาม และลักษณะของเกล็ดซ้อนกันเห็นได้ชัดลักษณะค่อน ข้างคล้ายเต่าตนุ
ขนาด :โตเต็มที่ยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตรน้ำหนักประมาณ ๑๒๐ กิโลกรัม ขนาดโตถึงขั้นแพร่พันธุ์ได้ประมาณ ๗๐ เซนติเมตร
อาหาร :เต่ากระอาศัยอยู่ตามแนวปะการังโดยเฉพาะเมื่อขนาดเล็กจะอาศัยตามชายหาดน้ำตื้น กินสัตว์จำพวกฟองน้ำ หอยและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร
แหล่งที่พบ : แหล่งวางไข่เต่ากระในอ่าวไทย พบที่เกาะคราม จ.ชลบุรี และพบกระจัดกระจายตามหมู่เกาะต่าง ๆ ทางทะเลอันดามันรวมทั้งแนว หาดทราย จ.พังงา และ จ.ภูเก็

2.เต่าหญ้า Olive Ridley Turtle  ( Lepodochelys olivacea )

ลักษณะเด่น :กระดองเรียบสีเทาอมเขียว สีสันของกระดองไม่สวยงามเท่า เต่ากระ และเต่าตนุ ส่วนหัวค่อนข้างโตจะงอยปากมนกว่าเต่าตนุที่แตกต่างกันชัดเจน คือ เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า มีจำนวน ๒ คู่และเกล็ดบนกระดอง แถว ข้างมีจำนวน ๖ - ๘ แผ่นในขณะที่เต่าตนุและเต่ากระมีเพียง ๕แผ่น และลักษณะ พิเศษของเต่าหญ้า คือกระดอง ส่วนท้องแถวกลาง ( Inframarginal Scale ) มีรูสำหรับขับถ่ายหรือรูเปิดสำหรับ ประสาท รับความรู้สึก (ยังไม่ทราบระบบการทำงานที่ชัดเจน) จำนวน ๕ คู่

ขนาด :เต่าหญ้าเป็นเต่าทะเลที่มีขนาดเล็กที่สุดในจำพวกเต่าทะเล ขนาดโตเต็มที่ประมาณ ๗๕ –๘๐ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๘๐ กิโลกรัมขนาดโตเต็มที่สามารถแพร่พันธุ์ได้ความยาวกระดองประมาณ ๖๐เซนติเมตร
อาหาร :เต่าหญ้ากินพวก หอย ปู ปลา และกุ้งเป็นอาหารจึงอาศัยอยู่ชายฝั่งทะเล ทั่วไป มีจะงอยปากใหญ่่คมและแข็งแรงสำหรับกัดหอยที่มีเปลือก เป็นอาหาร
แหล่งวางไข่ : พบมากทางฝั่งทะเลอันดามันตามหาดทรายฝั่งตะวันตกของ จ.ภูเก็ตพังงา
และหมู่เกาะในทะเลอันดามันไม่พบเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ฝั่งอ่าวไทย

3.เต่าหัวค้อน Loggerhead Sea Turtle  ( Caretta caretta )
ลักษณะเด่น : ลักษณะเด่นทั่วๆ ไปคล้ายเต่าหญ้า และเต่าตนุมากต่างกันที่เกล็ดบน ส่วนหัวตอนหน้ามีจำนวน ๒ คู่ เท่ากับเต่าหญ้าแต่เกล็ดบนกระดองหลังแถวข้างมีจำนวน ๕แผ่นซึ่งต่างจากเต่าทะเล ชนิดอื่นๆละรูปทรงของกระดองจะเรียวเล็กลงมาทางส่วนท้าย
อาหาร :กินอาหารจำพวก หอยหอยฝาเดียว และปู เป็นอาหาร
แหล่งวางไข่ :ปัจจุบันไม่มีรายงานการพบเต่าหัวค้อนขึ้นวางไข่ในแหล่งวางไข่ทะเลของไทยอีกเลยตลอดระยะเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมาซึ่งเข้าใจว่าคงจะสูญพันธุ์ไปจากน่าน น้ำไทยแล้ว

....................................................................................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................................................................................

4.เต่าตนุ Green Sea Turtle  ( Chelonia mydas )
ลักษณะเด่น : เกล็ดบนส่วนหัวตอนหน้า (Prefrontal Scale) มีจำนวน ๑ คู่ เกล็ดบนกระดองแถวข้าง (Costal Scale)จำนวน ๔ เกล็ดลักษณะขอบของเกล็ดจะเชื่อมต่อกันไม่ซ้อน สีสันและลวดลายสวยงามมีกระดองสีน้ำตาลอมเหลือง มีลายริ้วสีจางกว่ากระจายจากส่วนกลางเกล็ด มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าเต่าแสงอาทิตย์
ขนาด :โตเต็มที่กระดอง ประมาณ ๑๕๐ เซนติเมตรน้ำหนักประมาณ ๒๐๐ กิโลกรัม ขนาดโตถึงแพร่พันธุ์ ความยาวประมาณ๘๐เซนติเมตร
อาหาร :เต่าตนุเป็นเต่าชนิดเดียวที่กินพืชเป็นอาหารเมื่อพ้นวัยอ่อนแล้ว อาหารหลัก ได้แก่ พวกหญ้าทะเล และสาหร่ายชนิดต่างๆเต่าตนุในวัยอ่อน จะกิน ทั้งพืชและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร
แหล่งที่พบ : แหล่งวางไข่เต่าตนุในอ่าวไทยพบที่เกาะคราม จ.ชลบุรี และ พบประปรายทางฝั่งอันดามัน ทางชายทะเลตะวันตกของ จ.พังงาและ จ.ภูเก็ตรวมทั้งบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน

9.jpg

9.jpg

turtle2.jpg

turtle2.jpg

tnews_1422450555_1927.jpg

tnews_1422450555_1927.jpg

ตนุ.jpg

ตนุ.jpg

กระ.jpg

กระ.jpg

หญ้า.jpg

หญ้า.jpg

เฟือง.jpg

เฟือง.jpg

loggerhead-turtle.jpg

loggerhead-turtle.jpg

bottom of page